วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลง


  ชีวิป็ - Bodyslam  


                                             ( ขอขอบคุณ : http://www.youtube.com/watch?v=QP9-fCvTzsM )


 เนื้อเพลง  : คนเราจะมีพรุ่งนี้ได้อีกกี่วัน เวลามีเหลือกันเท่าไหร่
คนเราจะมีลมหายใจอีกกี่ครั้ง ใครจะรู้
คนเรายังมีสมองที่แตกต่างกัน ยังมีความฝันได้มากมาย
คนเราจะมีชีวิตเริ่มใหม่ได้ใช้ คงน่าเสียดาย

ต้องขออภัยจริงๆ ที่ฉันไม่ได้ไปด้วย
กับเส้นทางของใคร ที่เขาคิดว่าดี
วันนี้ไม่ได้เดินตาม แต่ฉันก็เต็มที่
กับเส้นทางของฉัน วันนี้

ชีวิตจะเป็นแบบไหน คงต้องเลือกเอา
ก็ตัวของเราก็ใจของใครของมัน
ชีวิตที่เป็นแบบนี้ คงไม่ว่ากัน
ก็ชีวิตมันเป็นของเรา

คนเราจะมีพรุ่งนี้ได้อีกกี่วัน เวลามีเหลือกันเท่าไหร่
คนเราจะมีลมหายใจอีกกี่ครั้ง ยังไม่รู้เลย
ให้คิดที่ทำตามใคร ก็รู้ว่าคงดีแน่
แต่เกิดมาทั้งที ต้องทำที่ใจอยาก
ชีวิตที่เป็นตัวเอง ก็รู้ว่ามันแย่
แต่มันต้องขอลองสักครั้ง

ชีวิตจะเป็นแบบไหน คงต้องเลือกเอา
ก็ตัวของเราก็ใจของใครของมัน
ชีวิตที่เป็นแบบนี้ คงไม่ว่ากัน
ก็ชีวิตมันเป็นของเรา

ชีวิตจะเป็นแบบไหน คงต้องเลือกเอา
ก็ตัวของเราก็ใจของใครของมัน
ชีวิตที่เป็นแบบนี้ คงไม่ว่ากัน
ก็ชีวิตมันเป็นของเรา

มันต้องเลือกเอา ก็ตัวของเราก็ใจของใครของมัน
ชีวิตที่เป็นแบบนี้ คงไม่ว่ากัน
 กับชีวิตที่ยังมี ชีวิตที่อยากเป็น ชีวิตมันเป็นของเรา
(เนื้อเพลงอ้างอิงจาก : http://sz4m.com/t2654 )


 เหตุผลที่ชอบเพลงนี้  : โดยส่วนตัวชอบ "พี่ตูน" อยู่แล้ว
และเนื้อหาของเพลงนี้มีความหมายดี ตรงตัว 
เป็นเพลงที่เตือนตัวเองได้ดี 
เราไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตให้เหมือนใครๆ เพราะว่า "ชีวิตเป็นของเรา" 
ไม่จำเป็นต้องเก่งมากมายให้เหมือนใครๆ 
แต่แค่เต็มที่กับสิ่งที่เราทำก็พอ 
เพราะเวลาผลออกมาไม่เป็นดั่งหวัง
จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจที่หลัง
ว่า "ตอนนั้นน่าจะทำให้ดีกว่านี้" แต่อยากให้เป็นประโยชน์ที่ว่า "ไม่เป็นไร เราทำเต็มที่แล้ว" 

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูล

FACEBOOK


Facebook คืออะไร

          Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ
          Facebook เป็น social network ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งถ้าในต่างประเทศ ความยิ่งใหญ่ของ facebook มีมากกว่า Hi5 เสียอีก แต่ในประเทศไทยของเรา Hi5 ยังครองความเป็นเจ้าในด้าน social network ในหมู่คนไทย

ประวัติความเป็นมาของ facebook


Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook เมื่อปี 2548
          เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ซึ่งตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebook บ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebook จึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง          ไอเดีย เริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริงๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต

คำว่า Facebook มาจากหนังสือเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book

          เมื่อประสบความสำเร็จขนาดนี้ ทั้งมาร์ค ดัสติน และ ฮิวจ์ ได้ย้ายออกไปที่ Palo Alto ในช่วงฤดูร้อนและไปขอแบ่งเช่า อพาร์ทเมนท์ แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ มาร์คได้เข้าไปคุยกับ ชอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Napster จากนั้นไม่นาน ปาร์คเกอร์ก็ย้ายเข้ามาร่วมทำงานกับมาร์คในอพาร์ตเมนท์ โดยปาร์คเกอร์ได้ช่วยแนะนำให้รู้จักกับนักลงทุนรายแรก ซึ่งก็คือ ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal และผู้บริหารของ The Founders Fund โดยปีเตอร์ได้ลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ          ด้วยจำนวนสมาชิกหลายล้านคน ทำให้บริษัทหลายแห่งสนใจในตัว facebook โดย friendster พยายามที่จะขอซื้อ facebook เป็นเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลางปีพ.ศ. 2548 แต่ facebook ปฎิเสธข้อเสนอไป และได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก Accel Partners เป็นจำนวนอีก 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตอนนั้น facebook มีมูลค่าจากการประเมินอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ          facebook ยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้ และในเดือนถัดมา facebook ได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิก เอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebook ได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capital พร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ          โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น facebook ได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebook และสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 facebook ก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน facebook ได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น          ในช่วงฤดูร้อนปี 2550 ครั้งนั้น Yahoo พยายามที่จะขอซื้อ facebook ด้วยวงเงินจำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายงานว่ามาร์คได้ทำการตกลงกันด้วยวาจาไปแล้วด้วยว่า จะยอมขาย facebook ให้กับ Yahoo และเพียงแค่สองสามวันถัดมา หุ้นของ Yahoo ก็ได้พุ่งขึ้นสูงเลยทีเดียว แต่ว่าข้อเสนอซื้อได้ถูกต่อรองเหลือเพียงแค่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มาร์คปฎิเสธข้อเสนอนั้นทันที ภายหลังต่อมา ทาง Yahoo ได้ลองเสนอขึ้นไปที่ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกครั้ง คราวนี้มาร์คปฎิเสธ Yahoo ทันที และได้รับชื่อเสียงในทางไม่ดีว่า ทำธุรกิจเป็นเด็กๆ ไปในทันที นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มาร์คปฎิเสธขอเสนอซื้อบริษัท เพราะเคยมีบริษัท Viacom ได้เคยลองเสนอซื้อ facebook ด้วยวงเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถูกปฎิเสธไปแล้วในเดือนมีนาคมปี 2550          มีข่าวอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ ค่อยดีสำหรับ facebook ที่ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก กับ Social Network ที่ชื่อ ConnectU โดยผู้ก่อตั้ง ConnectU ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กที่ฮาเวิร์ด ได้กล่าวหาว่ามาร์คได้ขโมยตัว source code สำหรับ facebook ไปจากตน โดยกรณีนี้ได้มีเรื่องมีราวไปถึงชั้นศาล และตอนนี้ได้แก้ไขข้อพิพาทกันไปเรียบร้อยแล้ว


เพิ่มคำอธิบายภาพโลโก้ social network ต่างๆ
          ถึงแม้ว่าจะมีข้อพิพาท อย่างนี้เกิดขึ้น การเติบโตของ facebook ก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ในฤดูใบไม่ร่วงปี 2551 facebook มีสมาชิกที่มาสมัครใหม่มากกว่า 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่วันละ 200,000 คน ซึ่งรวมกันแล้วทำให้ facebook มีสมาชิกมากถึง 50 ล้านคน โดย facebook มียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 ล้านเพจวิวต่อเดือน จากวันแรกที่ facebook เป็น social network ของนักศึกษามหาวิทยาลัย จนวันนี้ สมาชิกของ facebook 11% มีอายุมากกว่า 35 ปี และสมาชิกที่มีอายุมากกว่า 30 ปีก็เข้ามาสมัครใช้ facebook กันเยอะมาก นอกเหนือจากนี้ facebook ยังเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดย 15% ของสมาชิก เป็นคนที่อยู่ในประเทศแคนาดา ซึ่งมีรายงานออกมาด้วยว่า ค่าเฉลี่ยของสมาชิกที่มาใช้งาน facebook นั้นอยู่ที่ 19 นาทีต่อวันต่อคน โดย facebook ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกาและเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้อัพโหลดรูปภาพสูงที่สุดด้วยจำนวน 4 หมื่นหนึ่งพันล้านรูป          จากจำนวนสถิติเหล่านี้ ไมโครซอฟต์ได้ร่วมลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกกับหุ้นจำนวน 1.6 % ในเดือนตุลาคม 2551 ทำให้มูลค่ารวมของ facebook มีมากกว่า 15,000 ล้านบาท และทำให้ facebook เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 ในหมู่บริษัทอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ารายรับต่อปีเพียงแค่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลายฝ่ายได้อธิบายว่า การตัดสินใจของไมโครซอฟต์ในครั้งนี้ทำเพียงเพื่อที่จะเอาชนะ Google ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่จะขอซื้อ facebook ในครั้งเดียวกันนั้น คู่แข่งของ facebook ก็คือ MySpace, Bebo, Friendster, LinkedIn, Tagged, Hi5, Piczo, และ Open Social


ที่มาhttp://www.dmc.tv/pages/top_of_week/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4Facebook-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3Facebook.html

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎของมัวร์

กฎของมัวร์ (Moore's Law)

          กฎของมัวร์ หรือ Moore’s Law คือกฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว โดยมีความว่าจํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี ซึ่งกฎนี้ได้ถูกตัองชื่อตาม Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel ซึ้งเขาได้อธิบายแนวโน้มนี้ไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 และเมื่อเวลาผ่านไปจึงพบว่ากฎนี้นั้นแม่นยําอย่างประหลาด อาจเกิดเนื่องจากอุตสาหกรรม semiconductorได้นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมของตนก็เป็นได้ 

          คําว่า "กฎของมัวร์" นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์ Caltech นามว่า Carver Mead ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965 นั่นก็เป็นจริงตามคําของมัวร์ แต่เชื่อว่าคงเป็นเช่นนี้ในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ต่อมามัวร์จึงได้เปลี่ยนรูปกฎของเขามาเป็น เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975

          เมื่อเวลาผ่านมากฎของมัวร์ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่การทํานาย จนต่อมาได้กลายมาเป็นเป้ าหมายของอุตสาหกรรม semiconductor ส่งผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่มคู่แข่ง ทําให้วิศวกรของแต่ละบริษัทต้องคอยคิดค้น พัฒนาความสามารถในการประมวลผลต่างๆ 
ด้วยเหตุนี้กฎของมัวร์จึงเปรียบเหมือน self-fulfilling prophecy นอกจากนั้นยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิตอีกด้วยเนื่องจากเหตุผลที่ว่าต้องทําให้เกิดผลตามกฎของมัวร์ ดังนั้นจึงต้องใช้ทุนในการวิจัย พัฒนา การผลิต และการทดสอบสูงขึ้น ในทุกๆชิพที่มีการพัฒนาขึ้นมา ซึ่งจากเหตุผลข้อนี้นั้นทําให้เกิด กฎข้อที่สองของมัวร์ขึ้น โดยบอกว่า ต้นทุนการผลิตของ semiconductor นั้นเพิ่มขึ้นแบบ exponential เหมือนกัน

          สําหรับแนวโน้มในอนาคต Road map ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ทํานายไว้ว่า กฎของมัวร์นั้นจะยังเป็นจริงอยู่ในชิพอีกหลายๆรุ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคํานวณเวลาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั้นอาจหมายถึงว่า ในอนาคตจํานวนทรานซิสเตอร์บนชิพอาจเพิ่มขึ้น 100 เท่าในเวลา 10 ปีก็เป็นได้ นอกจานั้นยังมีการวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับกฎของมัวร์ในอนาคตอีกด้วย อาทิเช่น การสร้างสถิติความเร็วใหม่ที 500 GHz จากนักวิจัยของ IBM โดยการใช้ silicon/germanium helium supercooled transistor และให้ทํางานที่อุณหภูมิตํ่ามากๆ การคิดค้นเทคนิคการพิมพ์วงจรโดยใช้ deep-ultraviolet ทําให้สามารถพิมพ์วงจรที่มีความกว้างแค่ 29.9 nm ได้ส่งผลให้กฎของมัวร์ยังเป็นจริงต่อไป นักวิจัยจาก HP Labs สร้าง memristor ที่มีการทํางานคล้ายกับ CBRAM, RRAM โดยใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อนํามาใช้เป็นหน่วยความจําที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ า นักพัฒนาจาก Tyndall National Institute ใน Cork, Ireland ประกาศการค้นพบ junctionless transistor ซึ่งมีขนาดเพียงแค่10 nm โดยสามารถผลิตโดยเทคโนยีที่มีอยู่ได้ นักคาดการณ์หลายๆคนอาทิเช่น Ray Kurzweil, Bruce Sterling และ Vernor Vinge เชื่อว่าการพัฒนาแบบ exponential ตามกฎของมัวร์นั้นสุดท้ายจะนําไปสู่ technological singularity (เทคโนโลยีทุกๆอย่างพัฒนาไปพร้อมๆกัน)

          อย่างไรก็ตาม กฎของมัวร์นั้นก็ยังมีข้อจํากัดอยู่เช่นกัน เช่นเรื่องของจํานวนทรานซิสเตอร์กับความสามารถในการประมวลผล การเพิ่มขึ้นของทรานซิสเตอร์ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อความแรงของ
CPU แต่นอกเหนือจากนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับคอขวด ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการจัดการข้อมูลแบบ
parallelism ซึ่งอาศัยกฎของมัวร์ในการช่วยออกแบบ


credit : นายธีรภัทร์ ฉวรรณกุล (5231028321)

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ&กฎของมัวร์

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

          ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือ พาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์

บิตตรวจสอบ จะมีวิธีตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
2. การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)

ตัวอย่าง การตรวจสอบพาริตี้ด้วยบิตภาวะคู่ (Even Parity)
                                  
                                     ASCII-8                   Parity                            
                                   0100 1101                     0                     M
                                   0100 1001                     1                      I
                                   0100 1110                     0                     N
                                   0101 0100                     1                     T

            - M ตรงกับรหัสแอสกี้ 01001101 และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 4 บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคู่) 
ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็จะเป็น 0 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 010011010
            - I ตรงกับรหัสแอสกี้ 01001001 และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 3 บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคี่) 
ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็จะเป็น 1 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 010010011
            - ตรงกับรหัสแอสกี้ 01001110 และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 4 บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคู่) 
ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็จะเป็น 0 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 010011100
            - T ตรงกับรหัสแอสกี้ 01010100 และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 3 บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคี่) 
ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็จะเป็น 1 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 010101001




กฎของมัวร์ (Moore's Law)

          กฎของมัวร์ หรือ Moore’s Law คือกฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว โดยมีความว่าจํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี ซึ่งกฎนี้ได้ถูกตัองชื่อตาม Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel ซึ้งเขาได้อธิบายแนวโน้มนี้ไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 และเมื่อเวลาผ่านไปจึงพบว่ากฎนี้นั้นแม่นยําอย่างประหลาด อาจเกิดเนื่องจากอุตสาหกรรม semiconductorได้นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมของตนก็เป็นได้ 

          คําว่า "กฎของมัวร์" นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์ Caltech นามว่า Carver Mead ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965 นั่นก็เป็นจริงตามคําของมัวร์ แต่เชื่อว่าคงเป็นเช่นนี้ในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ต่อมามัวร์จึงได้เปลี่ยนรูปกฎของเขามาเป็น เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975

          เมื่อเวลาผ่านมากฎของมัวร์ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่การทํานาย จนต่อมาได้กลายมาเป็นเป้ าหมายของอุตสาหกรรม semiconductor ส่งผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่มคู่แข่ง ทําให้วิศวกรของแต่ละบริษัทต้องคอยคิดค้น พัฒนาความสามารถในการประมวลผลต่างๆ 
ด้วยเหตุนี้กฎของมัวร์จึงเปรียบเหมือน self-fulfilling prophecy นอกจากนั้นยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิตอีกด้วยเนื่องจากเหตุผลที่ว่าต้องทําให้เกิดผลตามกฎของมัวร์ ดังนั้นจึงต้องใช้ทุนในการวิจัย พัฒนา การผลิต และการทดสอบสูงขึ้น ในทุกๆชิพที่มีการพัฒนาขึ้นมา ซึ่งจากเหตุผลข้อนี้นั้นทําให้เกิด กฎข้อที่สองของมัวร์ขึ้น โดยบอกว่า ต้นทุนการผลิตของ semiconductor นั้นเพิ่มขึ้นแบบ exponential เหมือนกัน

          สําหรับแนวโน้มในอนาคต Road map ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ทํานายไว้ว่า กฎของมัวร์นั้นจะยังเป็นจริงอยู่ในชิพอีกหลายๆรุ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคํานวณเวลาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั้นอาจหมายถึงว่า ในอนาคตจํานวนทรานซิสเตอร์บนชิพอาจเพิ่มขึ้น 100 เท่าในเวลา 10 ปีก็เป็นได้ นอกจานั้นยังมีการวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับกฎของมัวร์ในอนาคตอีกด้วย อาทิเช่น การสร้างสถิติความเร็วใหม่ที 500 GHz จากนักวิจัยของ IBM โดยการใช้ silicon/germanium helium supercooled transistor และให้ทํางานที่อุณหภูมิตํ่ามากๆ การคิดค้นเทคนิคการพิมพ์วงจรโดยใช้ deep-ultraviolet ทําให้สามารถพิมพ์วงจรที่มีความกว้างแค่ 29.9 nm ได้ส่งผลให้กฎของมัวร์ยังเป็นจริงต่อไป นักวิจัยจาก HP Labs สร้าง memristor ที่มีการทํางานคล้ายกับ CBRAM, RRAM โดยใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อนํามาใช้เป็นหน่วยความจําที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ า นักพัฒนาจาก Tyndall National Institute ใน Cork, Ireland ประกาศการค้นพบ junctionless transistor ซึ่งมีขนาดเพียงแค่10 nm โดยสามารถผลิตโดยเทคโนยีที่มีอยู่ได้ นักคาดการณ์หลายๆคนอาทิเช่น Ray Kurzweil, Bruce Sterling และ Vernor Vinge เชื่อว่าการพัฒนาแบบ exponential ตามกฎของมัวร์นั้นสุดท้ายจะนําไปสู่ technological singularity (เทคโนโลยีทุกๆอย่างพัฒนาไปพร้อมๆกัน)

          อย่างไรก็ตาม กฎของมัวร์นั้นก็ยังมีข้อจํากัดอยู่เช่นกัน เช่นเรื่องของจํานวนทรานซิสเตอร์กับความสามารถในการประมวลผล การเพิ่มขึ้นของทรานซิสเตอร์ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อความแรงของ
CPU แต่นอกเหนือจากนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับคอขวด ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการจัดการข้อมูลแบบ
parallelism ซึ่งอาศัยกฎของมัวร์ในการช่วยออกแบบ


credit : นายธีรภัทร์ ฉวรรณกุล (5231028321)

รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูล ( รหัส ASCII และ รหัส Unicode )


  • รหัสแอสกี้ (ASCII : American Standard Code for Information Interchange)

          รหัสแอสกี (ASCII) เป็นเป็นรหัสที่กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานกำหนดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ย่อมาจาก American Standard Code for Information Interchange เป็นรหัส 8 บิต ใช้แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว นิยม ใช้กันแพร่หลายกับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปและระบบสื่อสารข้อมูล


บิดที่    
7
6
5
4
3
2
1
0

โครงสร้างของรหัสแอสกี มีดังนี้
                              บิตที่ 4 - 7                                             ประเภทของตัวอักขระ
                              0010                                                        เครื่องหมายต่าง ๆ 
                              0011                                                        ตัวเลขและเครื่องหมายต่าง ๆ
                              0100                                                        A - O 
                              0101                                                        P - Z และเครื่องหมายต่าง ๆ
                              0110                                                        a - o
                              0111                                                        p - z และเครื่องหมายต่าง ๆ

                             บิตที่ 0 ถึง 3 เป็นรหัสแทนอักขระแต่ละตัวในกลุ่ม

        ตัวอย่าง รหัสแทนข้อมูลแบบ ASCII

บิตที่
7
6
5
4
3
2
1
0


0
0
1
1
0
1
1
1
แทน 7

0
1
0
0
0
1
1
1
แทน G

0
1
1
0
0
1
1
1
แทน g

0
1
0
0
1
0
1
0
แทน J

0
0
1
0
1
0
1
1
แทน +

        จากหลักการของระบบเลขฐานสอง แต่ละบิตสามารแทนค่าได้ 2 แบบ คือ เลข 0 หรือเลข 1 ถ้าเราเขียนเลขฐานสอง เรียงกัน 2 บิต ในการแทนอักขระ เราจะมีรูปแบบในการแทนอักขระได้ 2 หรือ 4 รุปแบบคือ 00 ,01 ,10 ,11 ดังนั้นในการใช้รหัสแอสกีซึ่งมี 8 บิต ในการแทนอักขระแล้ว เราจะมีรูปแบบที่ใช้แทนถึง 28 หรือ 256 รูปแบบ ซึ่งเมื่อใช้แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ.จึงได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงไปเพื่อให้ใช้งานร่วมกัน

        ตัวอย่าง การแทนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์

A
0100 0001
X
0101 1000
B
0100 0010
Y
0101 1001
C
0100 0011
Z
0101 1010
D
0100 0100
0
0011 0000
E
0100 0101
1
0011 0001
F
0100 0110
2
0011 0010
G
0100 0111
3
0011 0011
H
0100 1000
4
0011 0100
I
0100 1001
5
0011 0101
J
0100 1010
6
0011 0110
K
0100 1011
7
0011 0111
L
0100 1100
8
0011 1000
M
0100 1101
9
0011 1001
N
0100 1110
.
0010 1110
O
0100 1111
(
0010 1000
P
0101 0000
+
0010 1011
Q
0101 0001
$
0010 0100
R
0101 0010
*
0010 1010
S
0101 0011
)
0010 1001
T
0101 0100
-
0010 1101
U
0101 0101
/
0010 1111
V
0101 0110
'
0010 1100
W
0101 0111
=
0010 1101




  • รหัสยูนิโคด (Unicode)
          เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256
รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ
เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว

          UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่ง
เพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ
ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX
บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย





JIRATTIKARN PROMPONG


0100 1010          
0100 1001          I
0101 0010          R
0100 0001          A  
0101 0100          T 
0101 0100          T 
0100 1001           
0100 1011           
0100 0001           A  
0101 0010           R
0100 1110           N

0101 0000           P 
0101 0010           R
0100 1111           
0100 1101          
0101 0000           P
0100 1111           O
0100 1110           N 
0100 0111          

*** ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 152 bit 19 byte ***




         


credit : http://neung.kaengkhoi.ac.th/mdata/rsdata4.html#d3

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ยุคที่หนึ่ง


คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสูญญากาศ (พ.ศ. 2488-2501)
          ปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC)
          ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann) ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
           คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)




ยุคที่สอง


คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507)
          นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็0ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
          สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย



ยุคที่สาม
คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508-2512)
          ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์"



ยุคที่สี่
คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ.2513-2532)
          เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor)
การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
          การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)



ยุคที่ห้า
คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน)
          เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
          ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia)